24 พ.ย. 2564 | 09:35:36
กรมป้องกันเเละบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.ละแม หลังสวน ทุ่งตะโก สวี พะโต๊ะ ท่าแซะ ปะทิว) สุราษฎร์ธานี (อ.ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง) นครศรีธรรมราช (อ.นบพิตำ สิชล พรหมคีรี ท่าศาลา ขนอม ลานสกา) สงขลา (หาดใหญ่ นาหม่อม) และพังงา (ตะกั่วป่า)
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ)
ภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี (อ.สองพี่น้อง บางปลาม้า) พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ เสนา บางบาล บางไทร บางปะอิน ลาดบัวหลวง บางซ้าย) นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน ดอนตูม) ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก) เพชรบุรี (อ.แก่งกระจาน ท่ายาง) และประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพาน)
ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะพะงัน)
พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม
ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.ท่าแซะ ปะทิว) สุราษฎร์ธานี (อ.ท่าชนะ) และนครศรีธรรมราช (อ.สิชล)
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
ภาคกลาง จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
พื้นที่ที่อาจเกิดฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และลำปาง ภาคกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จ.พัทลุง ภูเก็ต และกระบี่
ส่วนวันที่ 25-27 พ.ย. 64 สถานการณ์น้ำท่วมขัง เนื่องจากระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำน้ำชี ลำน้ำมูล ที่ล้นตลิ่ง และสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง บริเวณ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรีกรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
ขณะเดียวกันวันที่ 25-27 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือและภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม พื้นที่ริมลำน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมในระดับสูง และบริเวณปากแม่น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเลอาจได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ให้ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง
Share this: